วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ อำเภอเมือง

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ
อำเภอเมือง
      อุทยานแห่งชาติตาดโตน




                         ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของเทือกเขาภูแลนคา มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 134,737.50 ไร่ ประกาศเป็น อุทยานฯ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2523 เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกผาเอียง น้ำตกตาดกลาง และน้ำตกตาดโตน ผู้ประสงค์จะเข้าพักในบริเวณอุทยานฯ
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและจองบ้านพักล่วงหน้าได้ที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 579-0529, 579-4842 การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 2051 จากตัวเมืองถึงที่ทำการอุทยานฯ ระยะทางประมาณ 21 กม. ถนนราดยางตลอดสาย
                  ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของเทือกเขาภูแลนคา มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 134,737.50 ไร่ ประกาศเป็น อุทยานฯ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2523 เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกผาเอียง น้ำตกตาดกลาง และน้ำตกตาดโตน ผู้ประสงค์จะเข้าพักในบริเวณอุทยานฯ
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและจองบ้านพักล่วงหน้าได้ที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 579-0529, 579-4842 การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 2051 จากตัวเมืองถึงที่ทำการอุทยานฯ ระยะทางประมาณ 21 กม. ถนนราดยางตลอดสาย

                                                           ที่สักการะบูชา

                                            








               ปูด้วง                                                                                                             ย่าดี

น้ำตกผาเอียง




         น้ำตกผาเอียง ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติตาดโตน เป็นน้ำตกที่มีลักษณะเป็นหน้าผาเฉลียงตัดลำห้วยอยู่ทางทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติตาดโตน อยู่ห่างจากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2159 (ชัยภูมิ-หนองบัวแดง) บริเวณบ้านชีลองเหนือ ประมาณ 3 กิโลเมตร มีทางเดินเท้าถึงตัวน้ำตกประมาณ 800 เมตร บริเวณรอบน้ำตกแห่งนี้เป็นป่าดิบแล้งค่อนข้างสมบูรณ์โดยมีต้นไม้ขนาดใหญ่เหลืออยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ร่มรื่นเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง


ตาดฟ้าหรือถ้ำเตี้ย

ตาดฟ้าหรือถ้ำเตี้ย เป็นถ้ำเล็กๆ อยู่เชิงเขาภูอีเฒ่า และมีน้ำตกเป็นลานหินลาดชันกว้างประมาณ 15-20 เมตร ยาวโดยตลอด 80-90 เมตร ลาดชันประมาณ 30 องศา มีน้ำไหลตลอดปี มีแอ่งน้ำให้อาบหรือเล่นได้ อยู่ในท้องที่ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง ห่างจากจังหวัดไปทางทิศเหนือ ประมาณ 25 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 201
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา
           อุทยานแห่งชาติภูแลนคา   ตั้งอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ   มีเนื้อที่โดยประมาณ 92,500 ไร่   เป็นสภาพพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฏหมาย และป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี  เมื่อวันที่ 10 และ 17 มีนาคม พ.ศ.2535  และที่สำคัญเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร  ป่าสมบูรณ์ ป่าฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ป่าที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า รวมทั้งเป็นป่าที่คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ คณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ประจำจังหวัด ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัด องค์กรสิ่งแวดล้อม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  องค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบลที่เกี่ยวข้อง  ให้การเห็นชอบและสนับสนุนให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติภูแลนคา  โดยอย่างยิ่งพื้นที่ป่าอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำและลำห้วยต่างๆ ที่ไหลรวมกันเป็นลุ่มน้ำและไหลกันเป็นแม่น้ำชี เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูแลนคาด้านทิศเหนือและป่าภูแลนคาด้านทิศใต้
          อุทยานแห่งชาติภูแลนคา มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายหลายที่ด้วยกันในอดีต เคยเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการทหาร (ประวัติทางการสู้รบ) และประวัติศาสตร์ของศาลปู่ด้วง (บุคคลทรงศีล) จุดเด่นที่น่าสนใจ ได้แก่ ตาดหินลาด
ตาดโตนน้อย ภูคำน้อย ภูกลาง ภูดี ผาเกิ้ง ผาเพ ผากล้วยไม้ ถ้ำเกลือ ถ้ำพระ แม่น้ำชี ลาดหินแตก เทพบูชา ประตูโขลง ทุ่งดอกกระเจียว
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา   เหมาะสมที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี


                                                                           
                                                                                           ลานหินแตก
                                                                                                                 

 มอหินขาว

ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติภูแลนคา เป็นกลุ่มหินขนาดใหญ่จำนวน 3 กลุ่ม โดยจะมีหินทรายก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งเป็นสีขาวและโดดเด่นในพื้นที่ และเป็นที่มาของคำว่า มอหินขาว และในบริเวณยังมีเสาหินขนาดใหญ่จำนวน 5 เสา ตั้งเรียงรายกันเป็นแถว มีความสูงประมาณ 12 เมตร นอกจากนั้นยังมีแท่นหินที่มีรูปร่างคล้ายเรือ เจดีย์ หอเอียงเมืองปิซ่า และคล้ายกระดองเต่า ซึ่งจัดเป็นกลุ่มหินที่ 1 กลุ่มหินที่ 2 อยู่ห่างออกไป แท่นหินจะมีรูปร่างแปลกแตกต่างกันออกไป และเมื่อห่างออกไปอีกประมาณ 1,500 เมตร จะเป็นกลุ่มหินที่ 3 ที่เป็นแท่นหินและเสาหินขนาดเล็ก โดยลาดเอียงขึ้นไปจดหน้าผาที่มีชื่อว่า ผาหัวนาก และบริเวณมอหินขาวยังเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ
ที่มาของชื่อ มอหินขาว: เดิมพื้นที่แถวนี้เป็นป่า ต่อมาได้มีคนมาบุกเบิกทำไร่ และก็เห็นมีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่ทั่วไปแต่ ก็ไม่ได้สนใจอะไร ที่ไร่มันสำปะหลัง (ในสมัยนั้น) ของลุงก็มีก้อนหินใหญ่ขึ้นทั่วไป แต่ที่ลุงเห็นว่าแปลกประหลาดมาก ก็คือก้อนหินใหญ่ 5 ก้อน ที่ในทุกคืนวันพระ (15 ค่ำ, 8 ค่ำ) จะมีแสงสีขาวส่องขึ้นมา คนเฒ่าคนแก่สมัยนั้น เลยเรียกที่นี่ว่ามอหินขาวสโตนเฮนจ์ เมืองไทยเสาหินและแท่งหิน ที่มอหินขาวส่วนใหญ่เป็นหินทรายสีขาว นอกจากนี้ก็ยังมี หินทรายแป้ง หินโคลน หินทรายสีม่วง ซึ่งสันนิษฐานว่าก้อนหินขนาดยักษ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 175-195 ล้านปี และเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนทรายแป้งและดินเหนียว
กลุ่มหินของมอหินขาวกลุ่มที่โดดเด่นที่สุด คือ กลุ่มหินแรกที่มีเสาหินขนาดใหญ่ 5 ต้นเรียงรายกันอยู่ เสาหินเหล่านี้มีความสูงราว 12 เมตร ต้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดต้องใช้คนโอบไม่น้อยกว่า 20 คน

             เป็นเนินเขาเตี้ยๆ มีรอยพระพุทธบาทในก้อนหินคล้ายๆ พระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี ในท้องที่ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศเหนือประมาณ 18 กม. (เส้นทางเดียวกับภูพระ) แยกขวาเข้าไปประมาณ 5 กม. มีต้นไทร สนฉัตร ต้นจำปา และพันธุ์ไม้นานาชนิด ทางเข้าวัดทั้งสองข้างมีต้นไม้ร่มรื่นยิ่งนัก หากจะชมรอยพระพุทธบาท สามารถขอกุญแจจากแม่ชีที่วัดได้

เชื่อว่าที่นี่จะได้รับความนิยมในบ้านเราในเวลาไม่นานนัก
สอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูแลนคา โทร. 044810902-3 หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร.025620760

ภูแฝด

ปรางค์กู่

ปรางค์กู่ อยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง เขตอำเภอเมือง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๓ กิโลเมตร
ประวัติความเป็นมา
ปรางค์กู่ เป็นอโรคยาศาลสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๓ หรือพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีข้อความว่าให้อยู่ใต้พระบารมีของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงการแพทย์คือ พระไภษัชยคุรุไวทูรยประภา ผู้ประทานความสุขเกษมและความไม่มีโรคให้แก่ประชาชน ปัจจุบันเป็นโบราณสถานที่สำคัญและมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ
ลักษณะทั่วไป
ปรางค์กู่เป็นปราสาทอีกแห่งหนึ่ง ที่มีแผนผังและลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทที่ได้พบหลักฐานว่าเป็นอโรคยาศาล ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ นั่นคือ มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง ๑ องค์ วิหารหรือบรรณาลัยด้านหน้า ๑ หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีโคปุระเฉพาะด้านหน้าทั้งหมด ก่อด้วยศิลาแลงยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับเป็นหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ ๑ สระ ยังคงสภาพสมบูรณ์ดีมาก โดยเฉพาะปรางค์ประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ๕ เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก ๓ ด้านเป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังติดอยู่ จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือหน้ากาล ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๔ กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตา ด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง ๑.๗๕ เมตร หน้าตักกว้าง ๗.๕ เมตร ประดิษฐานอยู่ ๑ องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น นอกจากนี้ยังพบทับหลังและองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอื่น ๆ เช่น เสาประดับประตู
หลักฐานที่พบ
นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ ๑ สระ ยังคงสภาพสมบูรณ์ดีมาก โดยเฉพาะปรางค์ประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด ๕ เมตร ย่อมุมไม้สิบสองด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์มี ๓ ด้าน เป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีทับหลังติดอยู่ จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือกาล ซึ่อถือพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๔ กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตาด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมากที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง ๑.๗๕ เมตร หน้าตักกว้าง ๗.๕ เมตร ประดิษฐาน
อยู่ ๑ องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นนอกจากนี้ยังพบทับหลังและองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอื่นๆ เช่น เสาประดับประตู
เส้นทางเข้าสู่สถานที่สำคัญ
จากจังหวัดชัยภูมิมาตามทางหลวงหมายเลข ๒๐๒ ประมาณ ๑ กิโลเมตร จะมีทาง

ใบเสมาบ้านกุดโง้ง
                                                   ใบเสมาในรูปแกะสลักพุทธประวัติต่างๆ

 ใบเสมาทำด้วยหินทราย มีลักษณะเป็นแผ่นค่อนข้างใหญ่ ปลายมนแหลม ด้านหน้าจำหลักลายและบางแผ่นมีจารึกอยู่ที่ด้านหลังด้วย เฉพาะที่สลักลวดลายเก็บรักษาไว้ในอาคาร ชนิดแผ่นเรียบและรูปสถูปปักไว้ที่พื้นด้านนอก ลวดลายเป็นเรื่องราวพุทธศาสนาเล่าเรื่องชาดกตอนต่างๆ ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนบัลลังค์ใต้ต้นโพธิหรือรูปสถูป ซึ่งมักปักดินอยู่นอกอาคารเห็นเพียงสถูป ส่วนองค์ระฆังรูปหม้อน้ำคงจะฝังอยู่ใต้ดิน นับเป็นกลุ่มเสมาที่สวยงามอีสาน 
แยกเลี้ยวขวาเข้าปรางค์กู่เป็นระยะทาง ๒ กิโลเมตร

วัดกุดโง้ง เป็นสถานที่รวบรวมใบเสมาที่พบในบริเวณรอบหมู่บ้านโดยนำมาเก็บรักษาไว้ในอาคารไม้ที่ปลูกสร้างทางด้านซ้ายของโรงเรียนบ้านกุดโง้ง
การเดินทาง
จากจังหวัดตามทางหลวงหมายเลข
 202 ประมาณ 12 กม. ถึงบ้านกุดตุ้มเลี้ยวขวาเข้าทางสายกุดตุ้ม-บุ้งคล้า เข้าไปตามทางจนถึงหมู่บ้านกุดโง้ง และต่อไปถึงวัดกุดโง้ง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น